ตัววิ่ง

ยิน ดี ต้อน รับ ค่ะ ><

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เงิน คารละกาคลั

ความรู้คู่ชีวิต^^                    
        







ความหมายของเงิน
เงิน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นที่ยอมรับในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เงินประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งสามารถสั่งจ่ายด้วยเช็ค และบัตรเครดิต เป็นบัตรที่สามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการได้สะดวก

หน้าที่ของเงิน
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนการตกลงซื้อขาย
เพราะเงินมีอำนาจซื้อ ทำให้ผู้ถือเงินสามารถซื้อหาสินค้าและบริการได้

2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า หน่วยของเงินสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้า และบริการทำให้ทราบว่าสินค้าและบริการแต่ละชนิดมีมูลค่าแตกต่างกัน เช่น ราคาเสื้อตัวละ100 บาท กางเกงตัวละ 200 บาท
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า เช่น การกู้ยืมเงิน การประกันภัย ฯลฯ
4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์รูปแบบหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมเก็บสะสม
เพราะเงินเป็น ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด เช่น พ่อค้าขายของชำในหมู่บ้านซื้อสินค้ามาไว้เพื่อขายทรัพย์สินจะอยู่ในรูป ของสินค้า ถ้าพ่อค้าจำหน่ายสินค้าจะได้รับเงินมาหมุนเวียน แต่ถ้าพ่อค้าไม่ได้ขายสินค้า ก็เป็นการเก็บรักษา มูลค่าของสินค้านั้นไว้แทนเงิน

คำนิยามของปริมาณเงิน
ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) หมายถึง เงินเหรียญ ธนบัตร และเงินฝากประเภทกระแสรายวัน
ปริมาณเงินในความหมายกว้าง (M2 ) M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำของภาคเอกชน
ตลาดการเงิน ( Finance Market)
บทบาทของตลาดการเงิน ตลาดการเงินจะเป็นแหล่งระดม หรือหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยระดมจากบุคคลที่มีเงินออมเหลือโดยโอนไปเป็นเงินลงทุนทั้งหมด การระดมเงินทุนดังกล่าวจึงต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า ตลาดการเงิน เพื่อให้ผู้ออม และผู้ลงทุน ซึ่งมีจำนวนมาก สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินเหลือไปให้หน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการ
เงินลงทุน โดนผ่านตลาดการเงิน ซึ่งจะมีสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ระหว่างผู้ออมกับผู้ลงทุน โดยผู้ออมจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก และผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ มากกว่าผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับ
ตลาดการเงินจะเป็นตัวกลางทางการเงินที่อยู่ในรูปสถาบันการเงิน หรือมิใช่สถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนทั้งนาระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้เครื่องมือทางเครดิตเป็นหลักฐานในการกู้ยืม ซึ่งได้แก่ สัญญากู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร เงินกู้ เป็นต้น

ตลาดการเงินตามระบบ
1. ตลาดการเงินในระบบ (Organized Market) คือแหล่งให้มีการให้กู้ยืมกัน โดยมี
สถาบันการเงินต่าง ๆ ดำเนินงานภายในขอบเขตของตัวบทกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติจะแตกต่างไปตามประเภทของสถาบันตามที่กฎหมายระบุ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
2. ตลาดการเงินนอกระบบ ( Unorganized Market) เป็นแหล่งเงินที่มีการกู้ยืม
ระหว่างผู้ต้องการเงินกับผู้ให้กู้ยืม โดยไม่มีกฎหมายรองรับ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น การเล่นแชร์ ยืมเงินจากเพื่อนสนิท ญาติ รับจำนำ ซื้อขายแบบผ่อนส่ง เป็นต้น แหล่งการเงินแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเองตามความจำเป็น และความต้องการของสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจการเงินค่อนข้างสูง

ดุลยภาพในตลาดเงิน
อุปสงค์ของเงิน(Demand for money) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย โดยปกติทุกคนต้องถือเงินไว้จำนวนหนึ่งให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในกิจวัตรประจำวัน สาเหตุที่คนเราต้องถือเงินไว้เพราะรายรับและรายจ่ายไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่การใช้จ่ายจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยคัญที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยก็คือ 
อ่านต่อค่า>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น