ตัววิ่ง

ยิน ดี ต้อน รับ ค่ะ ><

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ระบเจ้าขุนมูลาย


                                                ศักดินาไทย

ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
หากเปรียบเทียบกับระบบราชการ อาจเทียบได้กับระบบพีซี ซึ่งแบ่งเพื่อให้ทราบระดับข้าราชการ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง
ในส่วนของเจ้าประเทศราช ได้มีการตราพระราชบัญญัติศักดินาเจ้านาย พระยาท้าวแสนเมืองประเทศราช พ.ศ. 2442 โดยเป็นการกำหนดศักดินาของเมืองประเทศราช

ศักดินายุโรป

[แก้]พื้นฐานและที่มาของระบบ

ระดับชั้นในระบบเจ้าขุนมูลนายของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบเจ้าขุนมูลนายเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบเจ้าขุนมูลนายเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมเจ้าขุนมูลนายเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็นเกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งบิชอปเพราะบิชอชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับขุนนางฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบเจ้าขุนมูลนายรุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มแข็งแกร่งขึ้นเพราะขุนนางท้องถิ่นถูกลิดรอนอำนาจไปให้กษัตริย์ที่ส่วนกลาง โดยก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากินแปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาว ๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบเจ้าขุนมูลนายตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงลิดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เงิน คารละกาคลั

ความรู้คู่ชีวิต^^                    
        







ความหมายของเงิน
เงิน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นที่ยอมรับในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เงินประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งสามารถสั่งจ่ายด้วยเช็ค และบัตรเครดิต เป็นบัตรที่สามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการได้สะดวก

หน้าที่ของเงิน
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนการตกลงซื้อขาย
เพราะเงินมีอำนาจซื้อ ทำให้ผู้ถือเงินสามารถซื้อหาสินค้าและบริการได้

2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า หน่วยของเงินสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้า และบริการทำให้ทราบว่าสินค้าและบริการแต่ละชนิดมีมูลค่าแตกต่างกัน เช่น ราคาเสื้อตัวละ100 บาท กางเกงตัวละ 200 บาท
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า เช่น การกู้ยืมเงิน การประกันภัย ฯลฯ
4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์รูปแบบหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมเก็บสะสม
เพราะเงินเป็น ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด เช่น พ่อค้าขายของชำในหมู่บ้านซื้อสินค้ามาไว้เพื่อขายทรัพย์สินจะอยู่ในรูป ของสินค้า ถ้าพ่อค้าจำหน่ายสินค้าจะได้รับเงินมาหมุนเวียน แต่ถ้าพ่อค้าไม่ได้ขายสินค้า ก็เป็นการเก็บรักษา มูลค่าของสินค้านั้นไว้แทนเงิน

คำนิยามของปริมาณเงิน
ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) หมายถึง เงินเหรียญ ธนบัตร และเงินฝากประเภทกระแสรายวัน
ปริมาณเงินในความหมายกว้าง (M2 ) M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำของภาคเอกชน
ตลาดการเงิน ( Finance Market)
บทบาทของตลาดการเงิน ตลาดการเงินจะเป็นแหล่งระดม หรือหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยระดมจากบุคคลที่มีเงินออมเหลือโดยโอนไปเป็นเงินลงทุนทั้งหมด การระดมเงินทุนดังกล่าวจึงต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า ตลาดการเงิน เพื่อให้ผู้ออม และผู้ลงทุน ซึ่งมีจำนวนมาก สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินเหลือไปให้หน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการ
เงินลงทุน โดนผ่านตลาดการเงิน ซึ่งจะมีสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ระหว่างผู้ออมกับผู้ลงทุน โดยผู้ออมจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก และผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ มากกว่าผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับ
ตลาดการเงินจะเป็นตัวกลางทางการเงินที่อยู่ในรูปสถาบันการเงิน หรือมิใช่สถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนทั้งนาระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้เครื่องมือทางเครดิตเป็นหลักฐานในการกู้ยืม ซึ่งได้แก่ สัญญากู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร เงินกู้ เป็นต้น

ตลาดการเงินตามระบบ
1. ตลาดการเงินในระบบ (Organized Market) คือแหล่งให้มีการให้กู้ยืมกัน โดยมี
สถาบันการเงินต่าง ๆ ดำเนินงานภายในขอบเขตของตัวบทกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติจะแตกต่างไปตามประเภทของสถาบันตามที่กฎหมายระบุ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
2. ตลาดการเงินนอกระบบ ( Unorganized Market) เป็นแหล่งเงินที่มีการกู้ยืม
ระหว่างผู้ต้องการเงินกับผู้ให้กู้ยืม โดยไม่มีกฎหมายรองรับ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น การเล่นแชร์ ยืมเงินจากเพื่อนสนิท ญาติ รับจำนำ ซื้อขายแบบผ่อนส่ง เป็นต้น แหล่งการเงินแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเองตามความจำเป็น และความต้องการของสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจการเงินค่อนข้างสูง

ดุลยภาพในตลาดเงิน
อุปสงค์ของเงิน(Demand for money) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย โดยปกติทุกคนต้องถือเงินไว้จำนวนหนึ่งให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในกิจวัตรประจำวัน สาเหตุที่คนเราต้องถือเงินไว้เพราะรายรับและรายจ่ายไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่การใช้จ่ายจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยคัญที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยก็คือ 
อ่านต่อค่า>>

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


         สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมงเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ซึ่งชาวประมงแต่ละคน ไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ตามลำพังบุคคลเหล่านี้จึงรวมตัวกันโดยยึดหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประวัติความเป็นมา
          สหกรณ์ประมงแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ชื่อว่า "สหกรณ์ประมงพิษณุโลก จำกัด" ในท้องที่ ลำคลองกระบังโป่งนก อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 54 คน สหกรณ์ได้ดำเนินการจัดสรรที่ทำกินให้สมาชิกช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจำหน่าย การแปรรูปสัตว์น้ำ ขออนุญาตสัมปทานให้สมาชิกจับสัตว์น้ำได้โดยสะดวก แนะนำเทคนิคการจับสัตว์น้ำ และละเว้นการจับสัตว์น้ำที่ยังไม่ได้ขนาดเพื่อสงวนพันธุ์สัตว์น้ำ การดำเนินงานเป็นไปด้วยดีจนถึงปี พ.ศ. 2513 ทางราชการมีนโยบายให้คลองต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรเป็นที่สาธารณะ การจับสัตว์น้ำเป็นไปโดยเสรี การดำเนินงานสหกรณ์จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร ปัจจุบันสหกรณ์นี้ได้ควบเข้ากับ "สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด"
          สำหรับการจัดตั้งสหกรณ์ประมงประเภทน้ำเค็มได้เริ่มจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 ชื่อว่า "สหกรณ์ประมงกลาง จำกัด" ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุนจำหน่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือประมง

วัตถุประสงค์ของ  สหกรณ์ประมง  
          1. รวบรวมสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากสมาชิกมาจัดการขายหรือแปรรูปออกขายเพื่อให้ได้ราคาดี 

          2. จัดหาวัสดุสิ่งของ รวมทั้งบริการที่ใช้ในการประมง และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ ที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย 
          3. ให้เงินกู้แก่สมาชิก
          4. รับฝากเงินจากสมาชิก
          5. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและธุรกิจเกี่ยวกับการประมง
          6. ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่สมาชิกและครอบครัวที่ประสบภัยพิบัติในการประกอบอาชีพ

  ทำไมต้องจัดตั้งสหกรณ์ประมง?
  ชาวประมงมักจะประสบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
               1. ขาดแคลนเงินทุน การประกอบอาชีพทางการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำประมงทะเลต้องลงทุนสูง มีการเสี่ยงต่อการลงทุนมากกว่าการประกอบอาชีพการเกษตรอื่นๆ ชาวประมงส่วนใหญ่จะกู้เงินจากนายทุนซึ่งเป็นเจ้าของแพปลาในท้องถิ่นมาเป็นทุนดำเนินงาน โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องขายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้เจ้าของแพปลานั้นๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องถูกกดราคารับซื้อเป็นอย่างมาก 


  
อ่านต่อ